โดย ธีรภพ เต็งประวัติ
นักเรียนชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรพัฒน์ email : maimoke2547@gmail.com
บทนำ
สำหรับสังคมไทยนั้น “แนวคิดโลกวิสัย” หรืออาจกล่าวให้แคบลงได้ว่า “ข้อเสนอ แยกศาสนาออกจากรัฐ” นั้น นับเป็นข้อเสนอที่ค่อนข้างแปลกใหม่ และไม่ได้อยู่ในความ สนใจของสังคมมากนัก เนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาในสังคมไทยนั้นมีบทบาททั้ง เป็นศูนย์กลาง ควบคุม ผสมรวม และประกอบสร้างในสังคม จนทำให้สถานะของพุทธ ศาสนามีความเด่นชัดเป็นอย่างมาก และกระบวนทัศน์ในการ “แยกรัฐออกจากศาสนา” นั้น ก็ไม่ได้ล้อกับบรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของไทยแต่อย่างใด2 แต่อย่างไร ก็ตาม แม้ว่าข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นข้อเสนอที่แปลกใหม่ดังที่กล่าวไป แต่ด้วย สถานการณ์ทางศาสนาที่เปลี่ยนแปลงไปและมีผลกระทบจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนา ประกอบกับการตื่นตัวของประชาชนที่มีสำนึกต่อการ ปกครองในระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย ทำให้ข้อเสนอดังกล่าวเริ่มได้รับการกล่าวถึง มากขึ้นในสังคมไทยในยุคปัจจุบันThomas Larsson (2019) ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ในประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ ไทย ข้อเสนอเรื่องการแยกรัฐออกจากศาสนามักจะมาจากนักคิดที่มีอุดมการณ์แบบมาร์ กซิสต์ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ข้อเสนอดังกล่าวมักจะมาจากนักคิดที่มีอุดมการณ์เสรีนิยม ประชาธิปไตย4 ซึ่งบทความนี้นั้น จะสำรวจข้อเสนอ ข้อถกเถียง ข้ออภิปราย และข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับ “แนวคิดโลกวิสัย” ในสังคมไทยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงการนำ เสนอแนวคิดดังกล่าวบนจุดยืนของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยเป็นหลัก บทความนี้ จะแบ่งออกเป็นสามช่วงตอน ในช่วงตอนแรกจะกล่าวถึงประวัติความเป็นมา และ แนวคิดโลกวิสัยที่ถูกนำเสนอมาแล้ว รวมถึงข้อถกเถียง และข้อวิพากษ์วิจารณ์ ช่วงตอน ถัดมาจะเป็นการจัดหมวดหมู่ ย้อนมอง และวิพากษ์แนวคิดที่นำเสนอไปในช่วงตอนแรก และในช่วงสุดท้ายจะวิเคราะห์ทิศทางของการขับเคลื่อนแนวคิดโลกวิสัยต่อไปในอนาคต
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่