วารสารมานุษยวิทยาศาสนา ปีที่ 1 ฉบับที่ 2
ธีม ความหลากหลายทางศาสนา
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาพลวัตการเดินทางของ ประมวล เพ็งจันทร์ ผู้มีชื่อเสียงด้านการเดินเท้าเพื่อฝึกฝนทางจิตวิญญาณ ผู้เขียนใช้วิธีศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณา ติดตามโครงการเดินทางรอบเกาะสมุยในปี พ.ศ. 2561 ข้อเสนอหลักคือ เป้าหมายและรูปแบบของการเดินทางของ ประมวล เพ็งจันทร์ ได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ออกจากการปฏิบัติธรรมแบบปัจเจกและเน้นประโยชน์ภายนอกมากขึ้น แม้วิถีชีวิตที่เป็นมินิมัลลิสต์ และการสอนธรรมะจะมีลักษณะต่อต้านทุนนิยม แต่โครงการเดินรอบเกาะสมุยสะท้อนให้เห็นภาพของชนชั้นกลางที่มีอันจะกิน และเอื้อต่อทุนนิยมของผู้จัดโครงการเอง อนึ่ง เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นในกลุ่มสมาชิก ประมวล เลือกที่จะวางเฉยต่อปัญหาเหล่านั้นโดยใช้หลักธรรมชักจูงให้ผู้คนปล่อยวางและอยู่กับสิ่งที่ประสบอย่างไม่เป็นทุกข์ อีกทั้งวิธีการสอนธรรมก็มีกลิ่นอายความเป็นเถรวาทและฮินดูมากกว่าจะแทรกวิธีคิดแบบปรัชญาตะวันตก ซึ่งสอดรับกับสาวกที่มีพื้นฐานการปฏิบัติวิปัสสนาและสนใจด้านจิตวิญญาณ ที่เชื่อว่า ความสุขหรือความจริงสูงสุดไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการถกเถียงด้วยเหตุผลหรือปรัชญา
คำสำคัญ เดินตามครู ทุนนิยม ประมวล เพ็งจันทร์ ธรรมยาตรา มินิมัลลิสต์
บทนำ
ประมวล เพ็งจันทร์ เป็นอดีตอาจารย์สอนปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเคยผ่านชีวิตแบบพระและไปศึกษาจนจบปริญญาเอกจากประเทศอินเดีย วิถีพระทําให้ท่านคุ้นเคยกับคําสอนทางพุทธศาสนา และอินเดียก็ช่วยเพิ่มประสบการณ์การเดินทางไกลและวิชาปรัชญา ซึ่งผู้เขียนจะชี้ให้เห็นในบทความนี้ว่า แนวคิดของประมวล มีความเป็นพุทธเถรวาทและฮินดูอยู่มาก เริ่มตั้งแต่การอธิบายเหตุผลของการลาออกจากงานด้วยความประสงค์จะปลีกวิเวกหาความสุข (ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง) โดยใช้ช่วงอายุ 50 ปี ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายเองว่า เป็นวัยที่ก้าวสู่ วนปรัสถ์เป็นช่วงเวลาที่หันหลังให้กับชีวิตแบบราชการ ฮินดูแบ่งช่วงชีวิตออกเป็น 4 ช่วงที่เรียกว่า อาศรม คือ 1) พรหมจารี 1-25 ปี เป็นวัยศึกษาเล่าเรียน 2) คฤหัสถ์ 25-50 ปี เป็นวัยก่อร่างสร้างตัวและเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ 3) วนปรัสถ์ 50-75 เป็นวัยของการเริ่มออกจากบ้านเพื่อปฏิบัติธรรม และ 4) สันยาสี 75-100 เป็นวัยที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อความหลุดพ้น
ประมวลเชื่อแบบเดียวกับชาวพุทธที่เน้นการปฏิบัติวิปัสสนาว่า ความจริง (ที่ประมวลมักเรียกว่า “ความหมาย”) เป็นสิ่งที่ค้นพบได้ด้วยการลงมือปฏิบัติและใช้สติรับรู้ในขณะนั้น มิใช่เกิดจากการเรียนหรือการคิด ท่านจึงปฏิเสธการเรียนการสอนแบบห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่สอนให้คนคิดวิเคราะห์/โต้เถียง ว่าแม้ท่านเองจะทําเช่นนั้นมาจนอายุ 50 ปี ก็ไม่ใช่วิธีแห่งการพบความจริง แท้จริงแล้ว ประมวลเป็นคนที่มีชื่อเสียงมาก่อนหน้านี้ในฐานะนักวิชาการที่สามารถบรรยายธรรมไปด้วยได้ เพราะประสบการณ์และความรู้ที่คุ้นเคยกับการเป็นนักบวชเป็นเวลานาน แต่กล่าวได้ว่า ท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้น เมื่อหนังสือชื่อ เดินสู่อิสรภาพ ได้ออกมาช่วงปี 2548 ซึ่งเป็นการบันทึกการเดินทางจากเชียงใหม่สู่เกาะสมุย โดยใช้เวลา 66 วัน ภายใต้วัตรปฏิบัติบางอย่างเช่น ไม่มีเงินติดตัว ไม่เดินไปหาคนรู้จัก ไม่ขออาหาร ยกเว้นว่าจะมีคนให้ และเดินโดยไม่มีกําหนดระยะเวลาและระยะทางที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ประมวลไม่ใช่นักปฏิบัติที่ปฏิเสธทางโลก ท่านยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับภรรยาคืออาจารย์สมปอง ท่านสอนหนังสือได้ 16 ปี และลาออกจากราชการในวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด และออกเดินทางในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งเป็นวันครอบรอบแต่งงาน ทั้ง 2 วันนี้ อาจารย์สมปองกําหนดให้ (ทรงกลด บางยี่ขัน, 2017)
มินิมัลลิสต์ในยุคทุนนิยม
ภาพลักษณ์ของการไม่แสวงหาชื่อเสียงและเงินทองแบบทางโลก ดังตัวอย่างของการลาออกจากการเป็นอาจารย์และออกเดินทางด้วยเท้าจากเชียงใหม่สู่เกาะสมุย ทําให้ภาพเช่นนั้นยังอยู่กับประมวล ซึ่งไม่มีใครทราบว่า ปัจจุบันท่านยังพกเงินติดตัวหรือไม่ (และคงไม่มีคนสนใจที่จะตั้งคําถามเช่นนี้ เพราะท่านได้กลายเป็นตัวแทนของผู้ไม่ใฝ่เงินทองเช่นเดียวกับพระธรรมยุตไปแล้ว) นอกจากนี้ เสื้อผ้าที่สวมใส่ซึ่งมีสีไม่ฉูดฉาด ก็ให้ภาพความเป็นผู้สันโดดได้ ทั้งที่จริงแล้ว กางเกง กระเป๋าและรองเท้าของท่าน (มักเป็นสีน้ําตาล ซึ่งดูเรียบง่าย) จะเป็นของแบรนเนมที่มีราคาแพง แต่นั้นไม่ใช่สิ่งปะหลาด เพราะความเป็นมินิมัลลิสต์ในโลกของทุนนิยมคือการใช้สิ่งที่ดูเรียบง่าย แต่มีคุณภาพซึ่งมีราคาแพง บ้านในญี่ปุุนที่หันมาจัดแบบมินิมัลลิสต์มักจะต้องจ้างบริษัทในการออกแบบซึ่งแท้จริงแล้วแพงกว่าบ้านปกติ นั่นหมายความว่า การเป็นมินิมัลลิสต์ที่มีบ้านสวยงามแบบเรียบง่าย มีของใช้น้อย แต่เป็นของที่มีคุณภาพ ล้วนเป็นบ้านของคนมีฐานะ ซึ่งชาวบ้านรากหญ้าไม่สามารถทําเช่นนั้นได้ กล่าวคือ โลกของมินิมัลลิสต์ก็ถูกออกแบบและดําเนินการโดยนายทุน ผู้เขียนไม่ได้เสนอว่า ประมวลเป็นนักทุนนิยมในคราบมินิมัลลิสต์เพราะความพร้อมในด้านฐานะและการมีภรรยาที่ดูแลท่านอย่างดี ฉะนั้นหากท่านจะมีเสื้อผ้าหรือกระเป๋าราคาแพงที่มีคุณภาพก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลอยู่แล้ว
ฉะนั้นความสันโดดในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงการอยู่แบบยากจนหรือใช้ของถูก แต่หมายถึงการไม่ฟุ่มเฟือยมากกว่ารายได้หลักของประมวล (หลังจากลาออกจากการเป็นอาจารย์) น่าจะมาจากการเขียนหนังสือและบรรยายธรรม หนังสือเดินสู่อิสรภาพ ราคา 300 บาทได้รับการพิมพ์มากกว่า 20 ครั้ง และการบรรยายรวมทั้งให้สัมภาษณ์กับช่องทีวีมีขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งนี้ การเดินทางที่ไม่พกเงินติดตัว สะท้อนการต่อสู้กับทุนนิยมอย่างเห็นได้ชัด ประมวลเชื่อว่าการพกเงินติดตัวทําให้ไม่มีโอกาสต่อสู้กับความกลัวที่มีในใจ เพราะแท้จริงแล้ว มนุษย์แสวงหาเงินเพื่อจะรับประกันการมีชีวิตอยู่อย่างสะดวกและหลีกหนีความกลัว แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็ยังมีโพสต์การ์ดที่จัดใส่กระเป๋าให้โดยภรรยา และเขียนรายงายตลอดเกี่ยวกับการเดินทาง ส่วนหนึ่งเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ทางธรรมที่ได้จากการเดินและเอื้อเฟื้อภรรยาในฐานะกัลยาณมิตร ส่วนหนึ่งก็เพื่อจะเป็นสัญญาณบอกว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตาม บันทึกประจําวันของท่านเป็นสิ่งที่มีค่ามาก เพราะสุดท้ายแล้ว มันได้กลายเป็นหนังสือที่บอกเล่าประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณที่ขายดีและทําเงินอย่างมาก
ผู้เขียนไม่ได้กล่าวว่าประมวลมีเจตนาในการเดินเพื่อเขียนหนังสือขาย แต่เสนอว่า การเดินทางเพื่อแสวงหาความหมายบางอย่างของท่าน ท้ายที่สุดแล้วก็นําไปสู่การได้กําไรในทางโลก ซึ่งหนีไม่พ้นทุนนิยมนั่นเอง การจัดกิจกรรม “เดินตามครู” รอบเกาะสมุยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 เดือนเมษายนเป็นเวลา 26 วัน ในมิตินี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านหนังสือของท่านมีโอกาสได้ลองใช้ชีวิตแบบนักเดินทางด้านใน อย่างน้อยที่สุด โครงการเช่นนั้นทําให้ผู้คนได้เห็นพฤติกรรมที่เรียบง่าย ถ่อมตน และได้สนทนากับท่านอย่างใกล้ชิด ซึ่งสามารถสร้างศรัทธาในกลุ่มสาวกและเน้นย้ําว่า ท่านมิได้เพียงแต่เป็นนักเขียน แต่ยังปฏิบัติเป็นตัวอย่าง และสิ่งเหล่านี้ก็ช่วยรักษาเครือข่ายผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณและสนับสนุนท่านในวิถี (อาชีพ) นี้ต่อไป เพราะการใช้ชีวิตแบบฆราวาสและมีภรรยา ถือเป็นหน้าที่สามีที่ดีที่ต้องทํางานเลี้ยงครอบครัว บางที อาจเพราะตัวอย่างการสงเคราะห์ครอบครัวที่ซ่อนอยู่ลึกๆ นี่เอง ที่ทําให้ศาสนาแบบฆราวาสเติบโตขึ้น เพราะสาวกรู้สึกว่าตรงกับวิถีชีวิตแบบตน ซึ่งยังต้องอยู่กับครัวเรือน แต่ก็ปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ไปด้วยก็ได้โดยไม่ต้องบวช (ทรงกลด บางยี่ขัน, 2017)
สะโลแกนในโครงการเดินรอบเกาะสมุยครั้งนี้คือ “เดินกินห่อ สาวย่าน ตํานานหมุย” เดินกินห่อหมายถึง การพกกล่องข้าวไปกินระหว่างทางหรือกินร่วมกัน จากการร่วมเดินกับคณะ 2 สัปดาห์ ผู้เขียนมีโอกาสได้ “กินห่อ” ครั้งเดียวเท่านั้น เป็นวันที่คณะต้องเดินทางลัดเลาะไปตามป่าซึ่งไม่มีบ้านคน และต้องพักทานอาหารกันที่นั่น ส่วนวันอื่นๆ จะมีการจัดเลี้ยงต้อนรับผู้เดินธรรมยาตราอย่างดี เพราะหากพักตามบ้านหรือวัด ก็เหมือนเป็นหน้าที่ที่เจ้าถิ่นจะต้องดูแลทีมผู้เดินทางอยู่แล้ว อาหารราว 5-10 ประเภทถูกตระเตรียมอย่างดี นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะจริงๆ แล้ว สถานที่ปฏิบัติธรรมตามวัดอื่นๆ ก็มักจะอุดมสมบูรณ์เช่นนี้ อาจเพราะการปฏิบัติธรรมในไทยมักเป็นของคนที่พอมีอันจะกิน วัด สถานที่ปฏิบัติธรรม เสื้อผ้าที่สะอาดหรืออาหารที่ดี จึงถูกจัดให้เหมาะกับคนเหล่านั้น เพราะคนจนที่แทบไม่มีกินมักไม่ค่อยเข้าสู่พื้นที่ประเภทนี้ ความอุดมสมบูรณ์เรื่องอาหารแต่ละมื้อนี้ก็สะท้อนว่า กิจกรรมเดินตามครู ไม่ได้เป็นการเรียนรู้วิถีความเป็นอยู่แบบชุมชนที่มากพอ แต่เป็นการรวมตัวของคนที่พอมีอันจะกินได้ทํากิจกรรมกันในสถานที่ใหม่ๆ เสียมากกว่า
ผู้เขียนไม่ได้กล่าวว่าประมวลมีเจตนาในการเดินเพื่อเขียนหนังสือขาย แต่เสนอว่า การเดินทางเพื่อแสวงหาความหมายบางอย่างของท่าน ท้ายที่สุดแล้วก็นําไปสู่การได้กําไรในทางโลก ซึ่งหนีไม่พ้นทุนนิยมนั่นเอง การจัดกิจกรรม “เดินตามครู” รอบเกาะสมุยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 เดือนเมษายนเป็นเวลา 26 วัน ในมิตินี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านหนังสือของท่านมีโอกาสได้ลองใช้ชีวิตแบบนักเดินทางด้านใน อย่างน้อยที่สุด โครงการเช่นนั้นทําให้ผู้คนได้เห็นพฤติกรรมที่เรียบง่าย ถ่อมตน และได้สนทนากับท่านอย่างใกล้ชิด ซึ่งสามารถสร้างศรัทธาในกลุ่มสาวกและเน้นย้ําว่า ท่านมิได้เพียงแต่เป็นนักเขียน แต่ยังปฏิบัติเป็นตัวอย่าง และสิ่งเหล่านี้ก็ช่วยรักษาเครือข่ายผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณและสนับสนุนท่านในวิถี (อาชีพ) นี้ต่อไป เพราะการใช้ชีวิตแบบฆราวาสและมีภรรยา ถือเป็นหน้าที่สามีที่ดีที่ต้องทํางานเลี้ยงครอบครัว บางที อาจเพราะตัวอย่างการสงเคราะห์ครอบครัวที่ซ่อนอยู่ลึกๆ นี่เอง ที่ทําให้ศาสนาแบบฆราวาสเติบโตขึ้น เพราะสาวกรู้สึกว่าตรงกับวิถีชีวิตแบบตน ซึ่งยังต้องอยู่กับครัวเรือน แต่ก็ปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ไปด้วยก็ได้โดยไม่ต้องบวช (ทรงกลด บางยี่ขัน, 2017)
สะโลแกนในโครงการเดินรอบเกาะสมุยครั้งนี้คือ “เดินกินห่อ สาวย่าน ตํานานหมุย” เดินกินห่อหมายถึง การพกกล่องข้าวไปกินระหว่างทางหรือกินร่วมกัน จากการร่วมเดินกับคณะ 2 สัปดาห์ ผู้เขียนมีโอกาสได้ “กินห่อ” ครั้งเดียวเท่านั้น เป็นวันที่คณะต้องเดินทางลัดเลาะไปตามป่าซึ่งไม่มีบ้านคน และต้องพักทานอาหารกันที่นั่น ส่วนวันอื่นๆ จะมีการจัดเลี้ยงต้อนรับผู้เดินธรรมยาตราอย่างดี เพราะหากพักตามบ้านหรือวัด ก็เหมือนเป็นหน้าที่ที่เจ้าถิ่นจะต้องดูแลทีมผู้เดินทางอยู่แล้ว อาหารราว 5-10 ประเภทถูกตระเตรียมอย่างดี นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะจริงๆ แล้ว สถานที่ปฏิบัติธรรมตามวัดอื่นๆ ก็มักจะอุดมสมบูรณ์เช่นนี้ อาจเพราะการปฏิบัติธรรมในไทยมักเป็นของคนที่พอมีอันจะกิน วัด สถานที่ปฏิบัติธรรม เสื้อผ้าที่สะอาดหรืออาหารที่ดี จึงถูกจัดให้เหมาะกับคนเหล่านั้น เพราะคนจนที่แทบไม่มีกินมักไม่ค่อยเข้าสู่พื้นที่ประเภทนี้ ความอุดมสมบูรณ์เรื่องอาหารแต่ละมื้อนี้ก็สะท้อนว่า กิจกรรมเดินตามครู ไม่ได้เป็นการเรียนรู้วิถีความเป็นอยู่แบบชุมชนที่มากพอ แต่เป็นการรวมตัวของคนที่พอมีอันจะกินได้ทํากิจกรรมกันในสถานที่ใหม่ๆ เสียมากกว่า
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3rbjPrL
ภาพจาก Facebook Page เดินตามครู