Journal of Religious Anthropology

เต๋าแห่งตัวตนที่ปราศจากรูป (BWO) : การกำลังจะเกิด/กำลังจะเป็นแบบเดอเลิซในหนังกังฟู

 เต๋าแห่งตัวตนที่ปราศจากรูป (BWO) : การกำลังจะเกิด/กำลังจะเป็นแบบเดอเลิซในหนังกังฟู

 ผู้เขียน เอเมียร์ วัดคา แปลโดย อมรินทร์ พิมลรัตน์ไพบูลย์


หนังกังฟูไม่ได้เป็นหนังที่จำกัดอยู่แต่ประเทศจีนอีกต่อไป และไม่ใช่ของเอเชียแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หนังฟอร์มใหญ่ (blockbusters) ทุนหนาเช่น พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก (Wo hu cang long, 2000), ซีรีย์คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด (1998, 2001, 2007), นางฟ้าซามูไร (2003, 2004) และอีกมากมายชี้ให้เห็นว่าหนังกังฟูมีรูปแบบที่โดดเด่นที่ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่ภูมิภาคหรือวัฒนธรรม เดอะ เมทริกซ์ไตรภาค (1999, 2003) ชี้ให้เห็นว่าหนังกังฟูไม่ใช่แค่เทคนิคในการต่อสู้แต่เป็นมุมมอง วิธีคิด และการทำงานในโลกอนาคตอันใกล้ ขณะที่นึกถึงต้นกำเนิดของหนังกังฟูในจีน บทความนี้สำรวจหนังกังฟูผ่านปรัชญาเต๋า ปรัชญาจีนที่มีอิทธิพลทั้งเชิงการปฏิบัติจริงและในหนังกังฟูในเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การอ่านที่ผมจะใช้ในที่นี้เป็นมุมมองทางปรัชญาจาก ชีล เดอเลิซ (Gilles Deleuze) กับเฟลิก กัตตารี (Félix Guattar) ผู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเต๋าและผนวกเข้ากับแนวคิดเกี่ยวกับโลกที่โดดเด่นของเขา ผมจะไม่ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบปรัชญาของเดอเลิซและเต๋า (ซึ่งเป็นการต่อต้านการผลิตงานในมุมมองของเดอเลิซและจะเป็นการต่อต้านมุมมองต่อความหลากหลาย (difference))  การผสมผสานของเขาเป็นเสมือน หยิน และ หยาง ที่เติมเต็มกันและกันโดยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ผมพบว่าความคิดของเดอเลิซเป็นความคิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปรัชญาของหนังกังฟู ประการแรกด้วยเหตุที่ว่าปรัชญาของเดอเลิซเน้นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว (movement) และประการที่สองเป็นเพราะมันดึงเราออกจากแรงบีบบังคับ ซึ่งเปิดทางให้ปรัชญาตะวันตกดำเนินไปสู่ทิศทางใหม่ ๆ ความคิดของเดอเลิซเชื่อมต่อเข้ากับสายนักคิดในประวัติศาสตร์ปรัชญาตะวันตกอย่างเฉพาะกลุ่ม ตั้งแต่การครอบงำของเพลโตในใช้ภาษาเป็นศูนย์กลาง (logocentric) การคิดในทางอภิปรัชญาในการที่จะวางรากฐานความจริงเกี่ยวกับภาวะเป็น/อยู่/คือ (being) และอัตลักษณ์ (identity) นักปรัชญาที่เดอเลิซเข้าไปสัมพันธ์ด้วย เช่น นิชเช่ (Friedrich Nietzsche) และ แบร์กซอง (Henri Bergson) ผู้มองหาความจริง(truth)ในรูปแบบที่ต่างออกไป เป็นต้นว่า การมองชีวิตในฐานะการแปรเปลี่ยน การเคลื่อนไหวและการกำลังจะเกิด/กำลังจะเป็น นักปรัชญาเหล่านี้พบได้ยากในขนบคิดตะวันตก ซึ่งดูเหมือนว่าจะถูกกดทับไว้ตั้งแต่ยุคก่อนโสเครติส สำหรับเดอเลิซแล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่จะหาเพื่อนร่วมทางกับความคิดทางตะวันออก ที่ซึ่งไม่เคยหยุดที่จะเป็นปรัชญาของการกำลังจะเกิด/กำลังจะเป็น อันที่จริง เดอเลิซกับกัตตารีมองความคิดที่ตัดข้ามเวลาและสถานที่ (อุตรภาวะ) ในฐานะที่เป็นโรคอันจำเพาะสำหรับพวกยุโรป พวกเขาตระหนักว่าเต๋าของจีนเป็น “ตัวตนที่ปราศจากรูปที่เข้มข้น[…] เป็นพื้นที่ของชีวิตที่พร้อมจะเชื่อมต่อกับสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา (a field of immanence) ที่ซึ่งความปรารถนาไม่เคยขาดพร่องและด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเชื่อมโยงกับกฎเกณฑ์ภายนอกใด ๆ หรือกฎเกณฑ์ที่ตัดข้ามเวลาและสถานที่ (อุตรภาวะ)ได้”


อ่านบทคสามเต็มจาก  https://cutt.ly/A2wELQa

ภาพจาก https://www.ucc.ie/en/sport/clubs/kung-fu/

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า